แผนการจัดการเรียนรู้ที่
1
กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
เรื่องหน่วย
โลกของเรา
เวลาเรียน 8 ชั่วโมง
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 1 เรื่อง ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับโลก เวลาเรียน 1 ชั่วโมง
ผู้สอน
นายถิรวุฒิ สุรัตน์สุขเกษม
โรงเรียน..................................................................................
วัน................ ที่...............
เดือน........................... พ.ศ. ..................
เวลาที่สอน.......................................
หมายเหตุ...................................................................................................................................................

1.
วิเคราะห์มาตรฐานการเรียนรู้/ตัวชี้วัด
มาตรฐาน
ว ๖.๑ เข้าใจกระบวนการต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นบนผิวโลกและภายในโลก ความสัมพันธ์ของ
กระบวนการต่าง
ๆ ที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ ภูมิประเทศ และสัณฐานของโลก
มีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้และจิตวิทยาศาสตร์ สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์
มฐ.
ว ๖.๑ ม.๒/๑o สืบค้น
สร้างแบบจำลองและอธิบายโครงสร้างและองค์ประกอบของโลกจาก
2.
ออกแบบการสอน
สื่อการผู้สอนใช้และเลือกสื่อการสอน ได้แก่ ใบความรู้ วีดีโอ หนังสือเรียน
ที่ผู้สอนคิดว่าเหมาะกับเรื่องที่เรียนและสามารถทำให้ผู้เรียนนำความรู้ที่ได้ไปใช้ในชีวิตประจำวันได้
3.
สอนที่ดีที่สุด
ใบความรู้
และ หนังสือเรียน
4.
วิธีการสอน
ผู้เรียนเลือกวิธีการสอน ได้แก่ สอนแบบสืบเสาะหาความรู้
(5E) สอนแบบการทดลอง สอนแบบบรรยาย สอนแบบสาธิต การสอนแบบ RBL
5.
การสอนที่เหมาะสม
ผู้สอนทำกิจกรรมการเรียนรู้ตามวิธีการสอนแบบ RBL โดยมีกิจกรรมการเรียนรู้ ดังนี้
ขั้นที่
1 การรู้จักตนเอง ( 5 นาที )
1. เริ่มต้นนำเข้าสู่บทเรียนโดยครูจะตั้งคำถามว่า “นักเรียนทราบหรือไม่ว่าโลกของเรานี้มีรูปทรงอย่างไรและลักษณะคล้ายกับอะไรในชีวิตประจำวัน”(แนวการตอบ ทรงกลมแป้น คล้ายกับผลส้ม)
2.
ครูตั้งคำถามว่า “นักเรียนทราบหรือไม่ว่าทำไมโลกของเราถึงมองจากภาพถ่ายดาวเทียมแล้วจึงเห็นเป็นสีฟ้า”
(แนวการตอบ เนื่องจากโลกของเราประกอบด้วยน้ำในอัตราส่วน 4 ต่อ 3
ของพื้นดิน)
ขั้นที่
2 การเชื่อมโยงประสบการเดิมและใหม่ ( 10 นาที )
1. ครูตั้งคำถามว่า
“นักเรียนคิดว่าบนโลกของเรานั้นประกอบด้วยอะไรบ้าง” (แนวการตอบ ดิน น้ำ อากาศ สิ่งมีชีวิต)
2. ให้นักเรียนจำแนกตามความคิดของนักเรียนว่า
ดิน น้ำ อากาศ สิ่งมีชีวิตต่างๆ นั้นอยู่ในระบบใดของโลก
3.ครูแจกกระดาษให้นักเรียนคนละ 1 แผ่น
โดยให้นักเรียนแต่ละคนวาดภาพโลกของเราตามจินตการของนักเรียนเองพร้อมทั้งระบายสีให้สวยงาม
ขั้นที่
3 การสร้างองค์ความรู้ ( 30 นาที )
1.
การตั้งประเด็น : โครงสร้างของโลกนั้นแบ่งออกเป็นกี่ชั้นอะไรบ้างและแต่ละชั้นแตกต่างกันอย่างไร2. ศึกษา ค้นคว้า รวบรวมข้อมูล : นักเรียนศึกษาค้นคว้าข้อมูลจากประเด็นที่ตั้งไว้จากใบความรู้ที่
1 เรื่อง โครงสร้างของโลก
3. ลงมือปฏิบัติ : แบ่งกลุ่มนักเรียน 5 คนต่อหนึ่งกลุ่ม จำนวน 5 กลุ่ม
เพื่อให้นักเรียนภายในกลุ่มร่วมกัน สังเกต และอภิปรายโดย
ให้นักเรียนภายในกลุ่มแต่ละกลุ่มร่วมกันระดมความคิดวาดภาพลงในแผ่นกระดาษโฟชาร์ดเรื่อง
โครงสร้างและองค์ประกอบของโลกจากพื้นผิวโลกสู่ใจกลางโลกให้ถูกต้องและสวยงาม
4. การวิเคราะห์ : ให้ตัวแทนนักเรียนของแต่ละกลุ่มออกมา
2 คนต่อ 1 กลุ่ม มาอธิบายถึงแผนภาพโครงสร้างโลกของกลุ่มตนเอง
5. การสังเคราะห์และสรุป : จากนั้นให้เพื่อนนักเรียนภายในชั้นเรียนวิเคราะห์
ว่ากลุ่มของตนเองแตกต่างจากกลุ่มที่ออกไปนำเสนอหน้าชั้นเรียนอย่างไรบ้างจากนั้น
ครูอธิบายว่า สรุปแล้วโครงสร้างของโลกเรานั้นจะแบ่งเป็น 3 ชั้นหลักๆ
ได้แก่ ชั้นเปลือกโลก ชั้นเนื้อโลก และชั้นแก่นโลก
ขั้นที่
4 แลกเปลี่ยนเรียนรู้และขยายผล ( 10 นาที )
1.
การแสดงความคิดเห็นร่วมกัน : ให้นักเรียนร่วมกันวิจารณ์กลุ่มของเพื่อนที่ออกมานำเสนอหน้าชั้นเรียน
2. การประเมินผล : ครูตั้งคำถามดังนี้ ในชั้นเปลือกโลกนั้นแบ่งได้กี่ส่วน (2 ส่วน คือ
ภาคพื้นทวีปและภาคพื้นมหาสมุทร)
3.
การขยายความรู้เพิ่มเติม : นักเรียนทราบหรือไม่ว่าโลกของเรานั้นทำไมถึงมีความร้อนจากแสงแดดเพิ่มขึ้นครูอธิบายถึง
โลกของเรานั้นนอกเหนือจากจะมีชั้นบรรยากาศแล้วภายในชั้นบรรยากาศนั้นจะประกอบไปด้วยชั้นโอโซนซึ่งถ้าหากชั้นโอโซนถูกทำลายไปจะทำให้อุณหภูมิภายในโลกสูงขึ้นจะส่งผลกระทบถึงความสัมพันธ์ในระบบ
ธรณีภาค และ ชีวภาค ไปด้วย
เนื่องด้วยว่าชั้นโอโซนถูกทำลายไปจากการที่มนุษย์เผาขยะและใช้ยานพาหนะที่มีมลพิษทางอากาศจึงทำให้ชั้นโอโซนถูกทำลายเป็นผลให้ความร้อนจากดวงอาทิตย์ส่งผลมายังเปลือกโลกโดยตรง
ขั้นที่
5 การนำไปใช้และการประยุกต์ ( 5 นาที )
ครูอธิบายว่า “เมื่อเรารู้แล้วว่าการเผาขยะส่งผลทำให้โลกเกิดอุณหภูมิสูงขึ้นแล้วดังนั้นเราควรเผาขยะในชีวิตประจำวันอีกหรือไม่”(แนวคำตอบ ไม่ควรเผา)
6. แบบฝึกหัด/ใบงาน
ผู้เรียนทำใบงานเรื่อง โครงสร้างพื้นฐานของโลก
7. ผู้เรียนประเมินตนเอง
ให้ผู้เรียนมีการวิเคราะห์ตนเองว่าในชีวิตประจำวันนั้นตนเองเป็นปัจจัยที่ส่งผลให้โลกร้อนหรือไม่และวิเคราะห์ตนเองว่าตนเอง
มีความเข้าใจใน เรื่อง โครงสร้างพื้นฐานของโลกหรือไม่
8. ผู้สอนประเมินผู้เรียน
ผู้สอนประเมินผู้เรียนโดยการประเมินจากการสังเกตพฤติกรรมการเรียนรู้ของผู้เรียน
ได้แก่ มีความใฝ่รู้ใฝ่เรียน มุ่งมั่นในการทำงาน มีความรับผิดชอบต่อการทำงาน
9. การสืบค้นเพิ่มเติม
ผู้เรียนสามารถเรียนรู้เพิ่มเติมจากสิ่งที่ได้เรียนรู้มาเพื่อให้เกิดความเข้าใจได้มากยิ่งขึ้น
จากเพื่อนที่อยู่ภายในกลุ่ม จากเพื่อนจากกลุ่ม จากครูผู้สอน ห้องสมุด
และจากแหล่งเทคโนโลยีสารสนเทศ
ดีค่ะนำมาใช้สอนได้ดี
ตอบลบ